เมนู

พระอริยะทั้งหลายรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นโลกุตตร-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[305] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยทำแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ฯลฯ กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค, แก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมพิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม และ
โลกุตตรธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. อนันตรปัจจัย


[306] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
2. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อํานาจของอนันตรปัจจัย